ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ความหมายภาษาอังกฤษ ความหมายภาษาไทย
(แปลจากความหมายภาษาอังกฤษ)
เอกสารอ้างอิง
Project based learning (PBL)การเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานProject based learning is that students learn more by applying knowledge that is familiar to them as well as new information toward resolving a problem. The projects for this method are real and relevant to the subject being studied.การเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานเป็นการที่ผู้เรียน เรียนรู้จากการประยุกต์ใช้ความรู้ที่มีอยู่และความรู้ที่ค้นคว้ามาใหม่เพื่อแก้ไขปัญหา โดยโครงการจะต้องมีความสมจริงและสอดคล้องกับวิชาที่เรียน Dehdashti A, Mehralizadeh S, Kashani MM. Incorporation of project-based learning into an occupational health course. J Occup Health. 2013;55(3):125-31. doi: 10.1539/joh.12-0162-oa. Epub 2013 Jan 18. PMID: 23327885.
Problem based learning (PBL)การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานIn problem based learning (PBL) students use “triggers” from the problem case or scenario to define their own learning objectives. Subsequently they do independent, self directed study before returning to the group to discuss and refine their acquired knowledge. ในการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ผู้เรียนจะถูกกระตุ้นด้วยปัญหาทางคลินิกของผู้ป่วย หรือสถานการณ์จำลอง จากนั้นผู้เรียนจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ขึ้นมาเอง เพื่อที่ต่อมาจะได้ไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง แล้วกลับมาอภิปรายกับกลุ่มเกี่ยวกับความรู้ที่ได้มา Wood DF. Problem based learning. BMJ. 2003 Feb 8;326(7384):328-30. doi: 10.1136/bmj.326.7384.328. PMID: 12574050; PMCID: PMC1125189.
Case based learning (CBL)การเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานCase based learning is a form of learning that involves a clinical case, a problem or question requiring student thought, a set of learning objective, information given prior and during the learning intervention, and measure outcome. เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่มีการนำกรณีศึกษาผู้ป่วย ปัญหา หรือคำถาม มาใช้สอน โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ มีการให้ข้อมูลความรู้ทั้งในระหว่างการศึกษาด้วยตนเองล่วงหน้า และสอดแทรกเข้าไปในชั้นเรียน รวมทั้งมีการวัดผลการเรียนรู้ McLean SF. Case-Based Learning and its Application in Medical and Health-Care Fields: A Review of Worldwide Literature. J Med Educ Curric Dev. 2016 Apr 27;3: JMECD.S20377. doi: 10.4137/JMECD.S20377. PMID: 29349306; PMCID: PMC5736264.
Team based learning (TBL)การเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานTeam based learning is an active learning and small group instructional strategy that provides students with opportunities to apply conceptual knowledge through a sequence of activities that includes individual work, teamwork and immediate feedback. It is used with large classes or smaller ones, incorporating multiple small groups of 5–7 students each, in a single classroom.การเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานเป็นการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้กลยุทธ์การสอนกลุ่มย่อย เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสประยุกต์ใช้ความรู้ผ่านชุดของกิจกรรม ประกอบไปด้วยกิจกรรมรายบุคคล กิจกรรมกลุ่ม และแสดงผลทดสอบความรู้รายบุคคลและรายกลุ่มให้ทันที โดยชั้นเรียนอาจเป็นได้ทั้งขนาดใหญ่และเล็ก โดยผู้เรียนจะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 5-7 คนParmelee D, Michaelsen LK, Cook S, Hudes PD. Team-based learning: a practical guide: AMEE guide no. 65. Med Teach. 2012;34(5):e275-87. doi: 10.3109/0142159X.2012.651179. Epub 2012 Apr 4. PMID: 22471941.
Scenario based learning การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เป็นฐานScenario-based learning processes present students with realistic sets of circumstances, true-to-life professional tasks, authentic challenges and work-oriented role engagement -transacted through communication styles and within cultural parameters similar to those found in the actual setting.ในการเรียนรู้จากสถานการณ์เสมือนจริงเป็นฐาน เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีโอกาสใช้ประสบการณ์ในการแก้ปัญหาที่มีลักษณะตรงกับโลกแห่งความเป็นจริง เป็นบริบทตรงกับวิชาชีพ มีสภาพปัญหาใกล้เคียงกับประสบการณ์การทำงานที่ผู้เรียนจะได้พบและต้องรับมือในอนาคต โดยจะต้องจำลองสถานการณ์ให้มีการสื่อสารและบริบทวัฒนธรรมแวดล้อมเหมือนจริงมากที่สุดErrington, E. P. (2010). Preparing graduates for the professions using scenario-based learning. Brisbane: Post Pressed.
Mini-Clinical Evaluation Exercise (Mini-CEX)การประเมินทักษะทางคลินิกจากการปฏิบัติงานจริงแบบสั้นThe trainee engages in a clinical activity (e.g. taking a focused history and performing relevant aspects of the physical examination) and afterwards summaries the encounter (e.g. provides a diagnosis and/ or treatment plan). The faculty member scores the performance and then provides educational feedback. The encounters are intended to take about 15 minutes, the trainees are expected to be evaluated several times and by different faculty members.เป็นการประเมินที่ผู้ฝึกอบรมมีประสบการณ์ทางคลินิก โดยเฉพาะการซักประวัติและตรวจร่างกายที่จำเป็น หลังจากนั้นก็สรุปผลการซักประวัติและตรวจร่างกาย การวินิจฉัย และแนวทางการรักษา ผู้สอนจะให้คะแนนการปฏิบัติงานและให้ฟี๊ดแบ็ก ซึ่งทั้งหมดนี้จะใช้เวลาประมาณ 15 นาที คาดหวังให้ผู้ฝึกอบรมได้รับการประเมินหลายครั้งและโดยผู้สอนหลายคนNorcini, J. J. (2010). Workplace assessment. In Swanwick, T. Understanding medical education: evidence, theory and practice. Oxford: Wiley-Blackwell.
Case-based Discussion (CbD)การอภิปรายกรณีผู้ป่วยThe trainee selects two case records from patients they have seen recently and in which they have made entries. The assessor selects one case of the two cases and explores one aspect of it with the trainee.เป็นการประเมินที่ผู้ฝึกอบรมเลือกบันทึกเวชระเบียนของผู้ป่วย 2 รายที่เพิ่งให้การดูแล โดยผู้สอนจะเลือกมาเพียง 1 ราย เพื่ออภิปรายลงรายละเอียดเพียงประเด็นใดประเด็นหนึ่งร่วมกับผู้ฝึกอบรม(Norcini, J. J. (2010). Workplace assessment. In Swanwick, T. Understanding medical education: evidence, theory and practice. Oxford: Wiley-Blackwell.)
Portfolioแฟ้มสะสมผลงาน A portfolio is a collection of information that is intended to demonstrate achievement. A portfolio contains a summary of educational experiences and reflection on those experiences. Then, a portfolio is reviewed by assessors.เป็นการประเมินที่ใช้แฟ้มสะสมผลงาน ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อแสดงถึงการบรรลุผล แฟ้มสะสมผลงานประกอบไปด้วยสรุปประสบการณ์การเรียนรู้และการสะท้อนประสบการณ์นั้นๆโดยผู้ฝึกอบรม จากนั้นผู้สอนจะทบทวนและประเมินแฟ้มสะสมผลงาน(Norcini, J. J. (2010). Workplace assessment. In Swanwick, T. Understanding medical education: evidence, theory and practice. Oxford: Wiley-Blackwell.)
Mini-Peer Assessment Tool (Mini-PAT)การประเมินทักษะทางคลินิกโดยเพื่อนร่วมงานแบบสั้นTrainee nominates eight assessors who are consultants, experienced specialist registrars, staff, general practitioners, nurses, or allied health personnel. Each is sent a questionnaire, which after completion, is returned to a central location for processing. The trainee self-assesses and submits the questionnaire for processing as well. The assessors are asked to make a judgement on both quality and fitness.เป็นการประเมินที่ผู้ฝึกอบรมเสนอชื่อเพื่อนร่วมงานซึ่งประกอบไปด้วย แพทย์เฉพาะทางที่ปรึกษา แพทย์ผู้ฝึกอบรมเฉพาะทาง ผู้สอน แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป พยาบาลหรือบุคลากรทางการแพทย์อื่น จำนวนรวม 8 คน ให้ตอบแบบประเมินซึ่งจะถูกรวบรวมผลโดยส่วนกลาง ตัวผู้ฝึกอบรมต้องต้องประเมินตนเองและส่งแบบสอบถามเช่นเดียวกัน จากนั้นผู้สอนจะประเมินทั้งคุณภาพของงานและความพร้อมในการทำงาน(Norcini, J. J. (2010). Workplace assessment. In Swanwick, T. Understanding medical education: evidence, theory and practice. Oxford: Wiley-Blackwell.)
Direct Observation of Procedural Skills (DOPS)การประเมินทักษะหัตถการโดยการสังเกตการณ์ตรง After the encounter, the faculty member rates the trainee’s performance and provide educational feedback. The encounters are necessarily brief (usually less than 15 minutes, with 5 minutes for feedback), and trainees are expected to be evaluated several times and by different faculty members.หลังการทำหัตถการ ผู้สอนจะต้องประเมินผู้ฝึกอบรมและให้ฟี๊ดแบ็ก โดยการทำหัตถการและสังเกตการณ์มักใช้เวลาไม่นานประมาณ 15 นาที ตามด้วยการฟี๊ดแบ็กประมาณ 5 นาที คาดหวังให้ผู้ฝึกอบรมได้รับการประเมินหลายครั้งและโดยผู้สอนหลายคน(Norcini, J. J. (2010). Workplace assessment. In Swanwick, T. Understanding medical education: evidence, theory and practice. Oxford: Wiley-Blackwell.)
Cognitive Load TheoryทฤษฏีภาระการทํางานของสมองCognitive Load Theory (CLT) builds upon established models of human memory that include the subsystems of sensory, working and long-term memory. Working memory (WM) can only process a limited number of information elements at any given time. This constraint creates a ‘‘bottleneck’’ for learning.ทฤษฏีภาระการทํางานของสมอง เป็นทฤษฎีที่สร้างอื่นจากรูปแบบความจำของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ความจำผ่านการรับรู้ ความจำในช่วงที่ทำงานอยู่หรือความจำช่วงสั้น และความจำระยะยาว เมื่อมีการรับรู้ใหม่ ความจำในช่วงสั้นมีพื้นที่จำกัด แต่ความจำระยะยาวมีการเก็บที่ไม่จำกัด ทำให้เกิดคอขวดของการเรียนรู้Young et al. (2014). Cognitive Load Theory: Implementations for medical education: AMEE Guide No. 86. Medical Teacher, 36, 371-384.
Iconic memoryความจำผ่านตาPrinted words and pictures (e.g. graphs and facial expression of a patient) are perceived by the eyes and briefly held in the visual sensory memory system.อักษรที่ถูกพิมพ์ให้เห็น หรือภาพ เช่น กราฟ สีหน้าของผู้ป่วย จะถูกรับรู้และจดจำได้ผ่านตาYoung et al. (2014). Cognitive Load Theory: Implementations for medical education: AMEE Guide No. 86. Medical Teacher, 36, 371-384.
Echoic memoryความจำผ่านหูSpoken words and other sounds (e.g. heartbeat and the patient’s answer to a question) are perceived by the ears and briefly held in the auditory sensory memory system (echoic memory).เสียงพูดหรือเสียงอื่นๆ เช่น เสียงการเต้นของหัวใจ เสียงตอบคำถามของผู้ป่วย จะรับรู้และจดจำได้ผ่านหูYoung et al. (2014). Cognitive Load Theory: Implementations for medical education: AMEE Guide No. 86. Medical Teacher, 36, 371-384.
Working memoryความจำในช่วงที่ทำงานอยู่หรือความจำช่วงสั้นA learner can hold no more than seven information elements at a time and can actively process (i.e. organize, compare and contrast) no more than two to four elements at any given moment.ในระยะสั้นเมื่อได้รับข้อมูลใหม่ มนุษย์สามารถจดจำเนื้อหาของข้อมูลได้เพียงแค่ 7 อย่าง และสามารถจัดเรียง เปรียบเทียบ และบอกความแตกต่าง ได้แค่ 2-4 ประเด็นYoung et al. (2014). Cognitive Load Theory: Implementations for medical education: AMEE Guide No. 86. Medical Teacher, 36, 371-384.
Long-term memoryความจำระยะยาวLong-term memory holds cognitive schemata that vary in their degree of complexity and automation. Schemata are domain-specific knowledge structures. A schema organizes multiple elements of information according to how those elements relate to each other and/or will be used. Illness scripts represent a type of schemata.ความจำระยะยาวจะถูกจัดเก็บโดยโครงสร้างทางปัญญา ทั้งนี้แล้วแต่ความซับซ้อนและความเป็นอัตโนมัติของข้อมูลนั้นๆ โครงสร้างทางปัญญาเป็นประเด็นจำเพาะของความรู้ โครงสร้างทางปัญญาจะจัดเก็บเรียบเรียงเนื้อหาข้อมูลว่าข้อมูลนั้นเกี่ยวข้องกับข้อมูลอื่นที่มีอยู่แล้วอย่างไร ตัวอย่างโครงปัญญาที่ชัดเจนได้แก่ ประวัติของผู้ป่วยที่ทำให้แพทย์จดจำได้Young et al. (2014). Cognitive Load Theory: Implementations for medical education: AMEE Guide No. 86. Medical Teacher, 36, 371-384.

2022 © Faculty of Medicine, Prince of Songkla University.